วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ผลงานนิทาน เรื่อง หมีกับฝูงผึ้ง






กิจกรรมการวาดภาพระบายสี


กิจกรรมการวาดภาพระบายสี

แบ่งออกเป็น 2 ช่วง

1. การวาดภาพลายเส้นด้วยปากกา ( ไม่ต้องร่างด้วยดินสอ )

-ต้องวางแผนก่อนวาดด้วยการจุดกำหนดขนาดภาพที่เราต้องการ  แล้วลากเส้นไปตามจุดที่กำหนดไว้เพราะ จะทำให้ได้ภาพใกล้เคียงกับต้นฉบับ
-ถ้าต้องการให้ภาพออกมาสวยงามให้ใช้การลากเส้นเพียงเส้นเดียว ไม่ลากซ้ำกันไปมาจนหนา
-การวาดภาพต้องมีความสะอาด กระดาษไม่เลอะเทอะ

  2. การระบายสี (เทคนิกการระบายสีไม้)

1.ให้แบ่งสีออกเป็น  2 กลุ่มคือ กลุ่มสีโทนร้อนและสีโทนเย็น
2.จำแนกสีเป็นกลุ่มๆที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน  กลุ่มละ  3  สี  ดังนี้

 สีโทนร้อน มีดังนี้
- ชุดที่ 1 ดำ - น้ำตาล - แดง
- ชุดที่ 2 น้ำตาล - แดง - ส้ม
- ชุดที่ 3 แดง - ส้ม - เหลือง

สีโทนเย็น มีดังนี้
- ชุดที่ 1 ดำ - น้ำเงิน - เขียวแก่
- ชุดที่ 2 เขียวแก่ - เขียวอ่อน - เหลือง
- ชุดที่ 3 น้ำเงิน - เขียวแก่ - เขียวอ่อน

3.การระบายสีไม่จำเป็นต้องกังวลถึงสีที่เหมือนจริง ฝึกให้มีความคิดอิสระ

4.จะระบายสีให้โดดเด่นควรระบายซ้ำ  2-3  รอบ

5.รอยต่อระหว่างสีควรเกลี่ยให้เรียบเนียน  ให้สีเสมอกัน โดยไล่สีตามโทน


วัตถุประสงค์

1.เพื่อความเพลิดเพลิน ด้วยการถ่ายทอด อารมณ์และความรู้สึก
2.เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
3.เพื่อฝึกการคิดในทางสร้างสรรค์และคิดอย่างเป็นระบบ
4.เพื่อฝึกทักษะการวาดภาพ
5.เพื่อฝึกสมาธิ ให้เป็นคนใจเย็น ปราณีต

กระบวนการทำงาน
1.การฝึกทักษะย่อย คือ คิดอย่างเป็นระบบ โดย
-เริ่มวางแผนก่อนว่าจะวาดรูปอะไรหรือนิทานเรื่องใด ในนิทานมีตัวละครตัวใดบ้าง จะวาดไว้ตรงไหน เป็นต้น
-เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม

2.ขั้นตอนจริง

1.วาดรูปภาพตามเนื้อเรื่องตามที่เราได้วางแผนไว้ด้วยปากกาดำ

2.ระบายสีโดยการไล่โทนสีให้สวยงาม

3.นำปากกาดำมาเน้นในสิ่งที่อยากจะให้โดดเด่น เช่น หัวข้อเรื่อง

4.เขียนเนื้อเรื่อง พร้อมคติสอนใจไว้หลังกระดาษ

การประเมินผลงานด้วยตนเอง

1.เส้นในการวาดภาพต่อเนื่องกัน 

2.ภาพโดยรวมดูสวยงาม สื่อความหมายได้ชัดเจน

3.การระบายสีกลมกลืนกันไม่ออกมาเป็นชั้นๆ

4.ภาพ เนื้อหา และคติสอนใจสอดคล้องกัน